คนตาบอดเรียนรู้สีได้อย่างไร?

สำหรับคนทั่วไปแล้วการรับรู้สีตามธรรมชาติก็คงเป็นเรื่องง่ายดายอย่างมาก (ไม่รวมคนตาบอดสีนะ) แต่เคยสงสัยไหมครับว่าผู้พิการทางสายตาเขาหรือคนตาบอดเขาเรียนรู้จักสีกันอย่างไร? บทความนี้จะอธิบายวิธีการรับรู้สีของคนตาบอดให้ฟังนะครับ
     โดยหลักการอย่างง่ายนั้น สีเกิดจากการที่มีแสงไปตกกระทบกับวัตถุและสะท้อนมายังดวงตาเรา จากนั้นผ่านกลไกลของสมองอันซับซ้อนทำให้เราเห็นเป็นสีได้ (ซึ่งแต่ละสีนั้นก็จะมีความกว้างและยาวของคลื่นที่แตกต่างกันออกไปนะครับ) แต่สำหรับคนตาบอดนั้น การรับรู้สีหรือภาพด้วยสายตานั้นเป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน ตามข้อมูลของเว็บไซต์ WikiHow [1] ได้อธิบายวิธีการเรียนรู้สีของคนตาบอดเป็นอย่างน่าสนใจ โดยเรียนรู้จากการใช้สัมผัสอื่นของร่างกาย
Mobirise

รูปที่ 1 ตัวอย่างการใช้สัมผัสร่างกายเรียนรู้สี ที่มาของรูปภาพ:

https://www.wikihow.com/Describe-a-Color-to-a-Blind-Person

     เนื่องจากหลายๆ สีนั้น มีความสัมพันธ์กับ รูป รส กลิ่น เสียง และค่อนข้างมีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้นเราสามารถสอนพวกเขาให้เรียนรู้สีจากสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมที่เจอในชีวิตประจำวันได้ ตัวอย่าง เช่น การสัมผัสดินด้วยมือและบอกเขาว่านี่คือสีน้ำตาล เปรียบเสมือนได้กับโลกของเรา หรือเมื่อเขาว่ายน้ำหรือสัมผัสน้ำ คนตาบอดจะรับรู้ได้ถึงความเย็นสบายจากน้ำ ซึ่งเป็นการเรียนรู้สำหรับสีฟ้าได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้เราสามารถสอนคนตาบอดเหล่านั้นให้เรียนรู้จักสีผ่านรสชาติของหรือกลิ่นของอาหาร ผัก หรือผลไม้ได้เช่นกัน เช่น สีแดงเปรียบเสมือนอาหารรสเผ็ด หรือกลิ่นของผลส้มนั้นก็หมายถึงสีส้ม และรสชาตผลเลม่อนหรือกล้วยนั่นก็คือสีเหลือง
Mobirise
รูปที่ 2 การเรียนรู้สีจากรสชาตและกลิ่นของอาหารและผลไม้ ที่มาของรูปภาพ: https://www.wikihow.com/Describe-a-Color-to-a-Blind-Person
     เช่นเดียวกันการฟังเสียงก็เป็นอีกหนึ่งการรับรู้ที่นำมาอธิบายสีได้ครับ เช่นเมื่อได้ยินเสียงรถที่เปิดไซเรนวิ่งผ่าน หมายถึงเป็นสิ่งที่อันตราย ซึ่งเปรียบเสมือนสีแดงเช่นกัน หรือจะเป็นเสียงของพายุฝน ฟ้าร้อง ก็เปรียบได้กับสีเทา และให้ความรู้สึกหดหู่ ไม่สดใส นอกจากนั้นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถสอนคนตาบอดเรียนรู้สีนั้น ก็คืออารมณ์ความรู้สึก ตัวอย่างเช่น สีแดงคืออารมณ์โกรธ สีส้มคือความรู้สึกอบอุ่นสบาย สีชมพูคือรู้สึกรัก เป็นต้น 
Mobirise
รูปที่ 3 ตัวอย่างการใช้งานแอพลิเคชั่นสำหรับคนตาบอด ก.) NantMobile Money Reader ข.) TapTapSee ค.) Color ID Free
     นอกจากวิธีการรับรู้ทางกายภาพ เพื่ออธิบายสีให้กับคนตาบอดแล้วนั้น ก็ยังมีวิธีการนับตัวเลข เช่น สีแดงเท่ากับเลขหนึ่ง สีเขียวเท่ากับเลขสอง อย่างไรก็ตามนั่นยังมีวิธีที่จะช่วยคนตาบอดในการรับรู้สีได้อีกหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าแบบนี้ ก็มีการพัฒนาอุปกรณ์ แอพพลิเคชั่นมากมายเพื่อช่วยในการระบุสี ตัวอักษร หรือแม้กระทั่งรูปภาพในกับคนตาบอด ตัวอย่างแอพพลิเคชั่นในมือถือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนตาบอดในหลายๆด้าน เช่น NantMobile Money Reader [2] ที่ช่วยจำแนกชนิดของธนบัตรและจำนวนเงินบนธนบัตรได้อย่างหลากหลายประเทศ หรือจะเป็นแอพพลิเคชั่นในการอธิบายลักษณะวัตถุ ชนิดวัตถุ อย่างเช่น TapTapSee [3] ส่วนแอพพลิเคชั่นในการจำแนกสี เช่น Color ID Free [4] ก็เป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นที่เป็นที่นิยม ลองโหลดมาเล่นดูกันได้นะครับ
อย่างไรก็ตามปัญหาสำหรับคนตาบอดของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะประเทศไทยก็ยังขาดแคลนอุปกรณ์หรือแอพพลิเคชั่นที่จะมาอำนวยความสะดวกอยู่มาก ซึ่งผมคิดว่าเทคโนโลยีสำหรับการช่วยเหลือคนพิการในไทยยังเปิดกว้างอยู่มากสำหรับผู้ที่สนใจที่อยากจะคิดค้นอะไรใหม่ๆ ครับ ลองเริ่มต้นจากการหาสิ่งที่เราสนใจ ปัญหาที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน และลงมือทำครับ เพื่อช่วยกันพัฒนาเทคโนโลยีเจ๋งๆ ดีๆ ให้กับประเทศของเรากันนะครับ
อ้างอิง
[1] https://www.wikihow.com/Describe-a-Color-to-a-Blind-Person
[2] https://itunes.apple.com/us/app/looktel-money-reader/id417476558?mt=8
[3] https://taptapseeapp.com/
[4] https://itunes.apple.com/US/app/id402233600?mt=8

ผู้แต่งบทความ

ดร.วัชรินทร์ ตั้งสุขสันต์
วศบ. ชีวการแพทย์ มศว รุ่น 2
นักเรียนทุน Monbukagakusho (MEXT) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขา Life Science and Systems Engineering ณ Kyushu Institute of Technology ประเทศญี่ปุ่น
ที่อยู่:

อาคารวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางวิศวกรรมไฟฟ้า (อาคาร G) ชั้น 7

ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
คณะวิศกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
63 หมู่ 7 ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120


ติดต่อ:

อีเมล
โทร: 026495000 ต่อ 27062

Address:
  • Electrical Engineering R&D Building (Building G), floor 7

  • Department of Biomedical Engineering, Srinakharinwirot University
  • 63 Moo 7, Ongkharak,
  • Nakhon Nayok, 26120
Contacts:

Email
Tel: +66 026495000 Ext. 27062

Mobirise.com

Created with Mobirise ‌

Web Page Builder